Opendata #1 ความเข้าใจเบื้องต้น

calendar 20 กันยายน 2566

Opendata #1 ความเข้าใจเบื้องต้น



         การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่มีการพูดถึงอย่างกว้างขวางและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมี 3 หน่วยงาน ร่วมมือกันผลักดันภาครัฐทั้งหมด 20 กระทรวง เพื่อยกระดับบัญชีข้อมูลภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.), สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.), สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

datagov.png
box1-2.png

         บริษัท ซิมพลี ไบรท์ ซิสเต็ม จำกัด ได้มีโอกาสในการพัฒนาระบบทางด้าน Opendata ให้กับหลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน จึงได้มีแนวคิดจัดทำบทความเพื่อให้ข้อมูลแนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลเปิด (Open data Platform) รวมถึงแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ที่สามารถนำไปต่อยอดได้อย่างหลากหลาย โดยบทความนี้จะเริ่มต้นจากการแนะนำนิยามและความหมายของคำต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน และจะลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบในบทความต่อๆไป

ความหมายของ Open data

         Open Data คือ ข้อมูลเปิดที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ เช่นการนำไปใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำไปเผยแพร่ โดยข้อมูลเปิดไม่ได้มีการจำกัดว่าจะต้องเป็นข้อมูลประเภทใดหรือด้านใด ทุกหน่วยงานหรือองค์กร สามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บมาเผยแพร่ได้ทั้งหมด ทั้งข้อมูลทางด้านบุคลากร,งบประมาณ, พื้นที่, สภาพภูมิอากาศ, ดัชนีและตัวชี้วัด, รวมไปถึงรายงานต่างๆ โดยปกติการเปิดเผยข้อมูลจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะของชุดข้อมูล หรือที่เรียกว่า Data set ซึ่ง 1 ชุดข้อมูล(1 Data set) จะประกอบไปด้วย เมทาดาตา (Metadata) และ ทรัพยากรข้อมูล(Resource) นอกจากนี้บางหน่วยงาน หรือบางระบบ อาจมีพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) เพิ่มเข้ามาเพื่ออธิบายความหมายในแต่ละฟิลด์ข้อมูลให้ผู้ใช้ได้ทราบและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

box2-1.png
Metadata

         Metadata คือ รายละเอียดที่อธิบายถึงความเป็นมาของข้อมูล เช่น ชื่อชุดข้อมูล, ชื่อองค์กรเจ้าของข้อมูล, ชื่อผู้รับผิดชอบ, คำสำคัญ, รายละเอียด, วัตถุประสงค์, แหล่งที่มา, รูปแบบการเก็บข้อมูล เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ ได้ออกแบบมาตรฐานขั้นต่ำอ้างอิงตาม ISO/IEC 11179 และ Dublin Core Metadata Initiative (DCMI) และแผ่นแบบ (Template) เอกสาร ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานเมทาดาตาสำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำมาตรฐานดังกล่าวไปใช้จัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานได้อย่างสอดคล้องกัน โดยได้จัดกลุ่มประเภทข้อมูลออกเป็น 5 ประเภทข้อมูล ซึ่งจะมี Metadata 14 รายการหลักที่เหมือนกัน จากนั้นจะมีรายการ Metadata ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูล

box3-1.png
box3-2.png
ทรัพยากรข้อมูล (Resource)

         ข้อมูลที่เปิดเผย หน่วยงานหรือองค์กรสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บไว้มาเผยแพร่ ได้ทุกรูปแบบประเภทไฟล์ข้อมูล ทั้งในรูปแบบ ของ doc, xls, pdf, jpeg, csv,RDF โดยทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ได้มีการกำหนดระดับการเปิดเผยข้อมูลออกเป็น 5 ระดับ ตามรายละเอียด https://www.dga.or.th/document-sharing/article/35847/

box4-1.png

นอกจากนี้ ยังมีคำที่ได้ยินบ่อยๆอีกหนึ่งคำ คือ บัญชีข้อมูล (Data Catalog) โดยนิยาม หรือ ความหมาย


บัญชีข้อมูล (Data Catalog) คือ การแสดงรายการของชุดข้อมูลทั้งหมดของหน่วยงาน ที่มีการจัดกลุ่มข้อมูลหรือจัดประเภทข้อมูลโดยหน่วยงานเจ้าของข้อมูล ซึ่งรายการชุดข้อมูลที่อยู่ในบัญชีข้อมูลนั้น เป็นได้ทั้งข้อมูลเปิด และข้อมูลปิด ขึ้นอยู่กับหน่วยงานเจ้าของข้อมูลเป็นผู้กำหนด


นอกจากนี้ ทาง สพร., สสช. รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ได้ให้คำนิยาม คำแนะนำ รวมถึง แนวทางปฏิบัติต่างๆ สามารถเข้าถึงเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้หลากหลายช่องทาง เช่น